Learning log 6

Tuesday 12 September 2017

กิจกรรม


วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอเนองานวิจัย และตัวอย่างการสอน
หลังจากนั้นก็สอนเนื้อหาเล็กน้อย



ความรู้ที่ได้รับ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- การเปลี่ยนแปลง (change) 
- ความแตกต่าง (Variety)
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม 
- การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity)
- ความสมดุล (Equilibrium)

องค์ประกอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบด้านความรู้
องค์ประกอบด้านเจตคติ
องค์ประกอบด้านกระบวนการ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะต้องอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้
             1. เป็นความรู้ทางธรรมชาติ 
             2. ได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า 
             3. เป็นความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบ หรือยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง  (Tested knowledge )

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
2.มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (Concept) เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องมาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่ เช่น แมวเป็นสัตว์4ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม
3.หลักการ (Principle)กลุ่มของความคิดรวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ 
4.กฎ (Law) เช่น เมื่อน้ำเย็นจนเป็นนำแข็ง จะมีปริมาตรเพิ่มขึ้น
5.ทฤษฎี (Theory) ความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบหลาย ๆ ครั้ง จนเป็นที่ยอมรับกัน

วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. สังเกต (Observation)
2. ตั้งปัญหา ( Problem)
3. ตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
4. ทดลอง (Testing Hypothesis)
5. สรุปผล (Conclusion)

เจตคติของนักวิทยาศาสตร์
- อยากรู้อยากเห็น เพียรพยายาม มีเหตุผล ซื่อสัตย์ มีระเบียบและรอบคอบ ใจกว้าง สงสัย

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills)
-ทักษะการสังเกต (Observing)
-ทักษะการวัด  (Measure) 
-ทักษะการคำนวณ  (Using Numbers) 
-ทักษะการจำแนกประเภท  (Classifying) 
-ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาา(Using Space/Time Relationships) 
-ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล(Organizing Data and Communicating)
-ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
-ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) 
ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
-ทักษะการตั้งสมมติฐาน
-ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 
-ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร 
-ทักษะการทดลอง   
-ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป  

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้หาสื่อการสอนสิทยาศาสตร์ที่จะนำมาประดิษฐ์ และนำไปใช้กับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย สื่อเดี่ยว (เป็นงานง่าย ๆ ที่ต้องคำนึงถึงว่าเด็ก ๆ จะทำตามได้รึป่าว) , สื่อคู่ , งานเข้ามุม




การนำไปประยุกต์ใช้
- นำความรู้ที่ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมและจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย


ประเมิน
ตนเอง - ตั้งใจเรียนบ้างเป็นบางครั้ง
เพื่อน - บางคนตั้งใจบางคนเลานโทรศัพท์
อาจารย์ - พยายามพูดให้นักศึษาเข้าใจ และไม่น่าเบื่อ
                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น