กิจกรรม
อาจารย์ให้เล่นเกมคล้องจอง
- รอบแรก ให้คนแรกพูดมา 2 คำ ภาษาอังกฤษ1คำ ภาษาไทย1คำ จะภาษาไทยก่อนหรืออังกฤษก่อนก็ได้ แล้วคนต่อมาต้องต่อคำที่มีเสียงสระและตัวสะกดตรงกับคำข้างหน้า เช่น Post มด รถ cat fat ผีเสื้อ เรือ tree เป็นต้น
- รอบที่สอง พูดคนละ 1 คำเป็นภาษาอังกฤษพร้อมคำแปล โดยคนที่มาต่อคำต้องพร้องเสียงกับคำสุดท้ายของของคนแรก เช่น ดอกไม้ flower เธอ you ปู crab map แผนที่ เป็นต้น
สรุปกิจกรรมนี้
อาจารย์จะให้นักศึกษาเรียนรู้ว่า เราควรสอนให้เด็กจำอย่างไร โดยใหเดูความแตกต่างของทั้งสองรอบ รอบแรกถึงจะคล้องจองกันแต่คำที่พูดออกมาเป็นภาษาอังกฤษอาจจะทำให้จำได้ยาก ต่างจากรอบที่สองที่มีทั้งอังกฤษและไทย แต่คำสองคำคือคำเดียวกันจึงสามารถจดจำได้ดีกว่า และไพเราะกว่า
ต่อมา อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 - 10 คน โดยให้แต่ละกลุ่มศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา กลุ่มแรก ทฤษฎีของ เพียเจต์ และกลุ่มที่สอง ทฤษฎีของบลูเนอร์ ให้สรุปและนำเสนอเพื่อน ๆ หน้าห้องเรียน
สรุปทฤษฎี
- ทฤษฎีของบลูเนอร์ พัฒนาด้านสติปัญญาจะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ก็มีปัญจัยรอบข้างทำให้พัฒนาการด้านสติปัญญาเพิ่มหรือลดเช่นกัน
- ทฤษฎีของเพียเจต์ ก็คล้าย ๆ กับบลูเนอร์ แต่มีอายุมากำกับ
- ความแตกต่างของทั้งสองคือ ของบลูเนอร์ ใช้ได้กับคนทุกคนไม่มีช่วงกำจัด แต่ของเพียเจต์ จะมีอายุมากำกับ
การนำไปประยุกต์ใช้
- กิจกรรมแรก หาศัพย์ที่คลองจองกัน แล้วนำมาแต่งเป็นเพลง หรือคำคลองจองมาสอนเด็ก ๆ เพื่อเด็ก ๆ จะได้สนุกและได้ความรู้
- นำทฤษฎีของทั้งสองคนมาทำความเข้าใจ และเรียนรู้ ธรรมชาติของเด็ก ๆ
ประเมิน
ตนเอง - สนุกและตั้งใจเรียน ทำงานกลุ่มช่วยเพื่อน ๆ
เพื่อน - ทุกคนสนุกสนานในการต่อคำศัพย์และร่วมกันทำงานกลุ่มเต็มที่
อาจารย์ - สอนสนุก ให้คำปรึกษา และสรุปเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น